(ทิศนา แขมมณี. 2555:85) กล่าวไว้ว่า ผู้บุกเบิกทฤษฎีนี้คือ การ์ดเนอร์ (Gardner) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard
University) ในปี ค.ศ. 1983 แนว
คิดของเขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดเกี่ยวกับ “เชาวน์ปัญญา” เป็นอย่างมาก
และกลายเป็นทฤษฎีที่กำลังมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อการจัดการศึกษาและการ
เรียนการสอน ในปัจจุบัน
แนวคิดเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญา (Intelligence) ที่ มีมาตั้งแต่เดิมนั้น จำกัดอยู่ที่ความสามารถทางด้านภาษา
ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และการคิดเชิงตรรกะหรือเชิงเหตุผลเป็นหลัก
การวัดเชาวน์ปัญญาของผู้เรียนจะวัดจากคะแนนที่ทำได้จากแบบทดสอบทางสติปัญญา
ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบความสามารถทั้ง 2 ด้าน ดังกล่าว
คะแนนจากการวัดเชาวน์ปัญญาจะเป็นตัวกำหนดเชาวน์ปัญญาของบุคคลนั้นไปตลอด การ์ดเนอร์ (Gardner, 1983)
ให้นิยามคำว่าเชาวน์ปัญญาว่า “เชาวน์ปัญญา” (Intelligence)ไว้ ว่า
หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่างๆ
หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่างๆซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ ละแห่ง
รวมทั้งความสามารถในการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ
1.
เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้พียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์
เท่านั้นแต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
2.
เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
ในความคิดของการ์ดเนอร์
เชาวน์ปัญญาของบุคคลประกอบด้วยความสามารถ 3 ประการคือ
1.
ความสามารภในด้านแก้ปัญหาในสภาพการณ์ต่างๆ
ที่เป็นไปตามธรรมชาติและตามบริบททางวัฒนธรรมของบุคคลนั้น
2.
ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีประสิทธิภาพและสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรม
3.
ความสามารถในการแสวงหาหรือตั้งปัญหาเพื่อหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
เชาวน์ปัญญา
8 ด้าน ตามแนวการ์ดเนอร์ มีดังนี้
1)เชาวน์ปัญญาด้านภาษา (Inguistic
intellignce) เชาวน์ปัญญานี้ถูกควบคุมโดยสมองที่เรียกว่า “broca’s
area” สติปัญญาด้านนี้แสดงออกทางความสามารถในการอ่าน การเขียน
การพูดอภิปราย การสื่อสารกับผู้อื่น การใช้ศัพท์ การแสดงออกของความคิด การประพันธ์
การแต่งเรื่อง กาเรเล่าเรื่อง เป็นต้น
2)เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
(Logical mathermatical intelligence )
ผู้มีอัจฉริยะด้านการให้เหตุผลเชิงตรรกะ มักคิดโดยใช้สัญลักษณ์
มีระบบระเบียบในการคิด ชอบคิดวิเคราะห์ แยกแยะวิ่งต่างๆ
3)สติปัญญาด้านติมิสัมพันธ์
(spatgial intelligence) เชาวน์
ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองซีกขวา และแสดงออกทางความสามารถด้านศิลปะ การวาดภาพ
การสร้างภาพ การคิดเป็นภาพ การเห็นรายละเอียด การใช้สีการสร้างสรรค์งานต่างๆ
และมักจะเป็นผู้มองเห็นวิธีแก้ปัญหาในมโนภาพ
4)เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี
(musical intellignce) เชาวน์ปัญญาด้านนี้ถูกควบโสมองซีกขวา
แต่ยังไม่สามารระบุตำแหน่งที่แน่นอนได้
บุคคล ที่มีสติปัญญาทางด้านนี้
จะแสดงออกทางความสามารถในด้านจังหวะการร้องเพลง การฟังเพลงและดนตรี การแต่งเพลง
การเต้น และมีความไวต่อการรับรู้เสียงและฟังจังหวะต่างๆ
5)เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
(bodily-kinesthetic intellignce) เชาวน์
ปัญญาด้านนี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนที่เรียกว่าคอร์แท็กซ์
โดยด้านซ้ายควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกขวา
และด้านขวาควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายซีกซ้าย สติปัญญาทางด้านนี้ สังเกตได้จากความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย
เช่น ในการเล่นกีฬา และเกมต่างๆ
การใช้ภาษาท่าทาง การแสดง การเต้นรำ ฯลฯ
6)เชาวน์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น
(interpersonal intellignnce) เชาวน์
ปัญญานี้ถูกควบคุมโดยสมองส่วนหน้า ความสามารถที่แสดงออกทางด้านนี้
เห็นได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น การทำงานกับผู้อื่น
การเข้าใจและการเคารพผู้อื่น การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และการจัดระเบียบ
ไวต่อความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
7)เชาวน์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
(intrapersonal intellignce) บุคคล
ที่มีความสามารถเข้าใจตนเอง มักมีคนที่ชอบคิด พิจารณาไร่ตรอง มองตนเอง
และทำความเข้าใจถึงความรู้สึกและพฤติกรรมของตน
มักเป็นคนที่มั่นคงในความคิดความเชื่อต่างๆ
จะทำอะไรมักต้องการเวลาในการคิดไตร่ตรอง และชอบที่จะคิดคนเดียว ชอบความเงียบสงบ
8)เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ
(naturalist intellignce) เชาวน์ ปัญญาด้านนี้เป็นความสามารถในการสังเกตสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
การจำแนกแยกแยะ จัดหมวดหมู่ สิ่งต่างๆรอบตัว
บุคคลที่มีความสามารถด้านนี้มักเป็นผู้ริธรรมชาติ เข้าใจธรรม
ตระหนักในความสำคัญของสิ่งแวดล้อมรอบตัว และมักจะชอบและสนใจสัตว์
ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 กล่าวไว้ว่า
ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาวน์
ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
-
เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical
mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist
intelligence)
เชาวน์ ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น
และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา
ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
2. เชาวน์
ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน
ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง
และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น
รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็น ประโยชน์ต่อส่วนรวม
ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน
และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้
ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ
การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดย
ใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง
http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486,http://surinx.blogspot.com/ กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ
2 ประการ คือ
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical
intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
ณัชชากัญญ์
วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน
ประกอบด้วย
- เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical
mathematical intelligence)
- สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily
kinesthetic intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal
intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
- เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน
2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_of_multiple_intelligences ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) เสนอแนวคิดนี้ว่า
สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน
แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย
7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์
ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์
และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540
ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา
เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา
ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8
ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง
จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา
และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical
Intelligence) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล
การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์
ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย
นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง
ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน
มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic
Intelligence) คือ
ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง
ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง
นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือ
ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้
การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี
และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง
สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์
และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง
สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง
สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน
แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา
นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง
หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง
ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า
เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง
รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง
หรือความสามารถในเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง
ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง
เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน
เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์
ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต
เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก
แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ
http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/theory-of-multiple-intelligences.html ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
Gardner (1993) พบว่า ความสามารถของแต่ละบุคคลมีอย่างน้อย 8
ด้าน บุคคลทุกคนมีความสามารถทุกด้าน แต่ไม่เท่ากัน
และมักจะมีความสามารถด้านใดด้านหนึ่งที่เด่นกว่าด้านอื่น
นอกจากนี้ยังพบว่าบุคคลต้องใช้ความสามารถทุกด้านในการดำรงชีวิตด้วย
และความสามารถนั้นไม่ได้แยกจากกัน มีความเกี่ยวพันกัน ซึ่งสมองส่วนต่างๆ
เป็นตัวควบคุม เมื่อสมองส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทาลาย ความสามารถทางด้านนั้นจะบกพร่องไป
และเมื่อความสามารถด้านพัฒนาสูงสุดจะทาให้เกิดความภาคภูมิใจ
มีผลทาให้อยากจะพัฒนาความสามารถด้านอื่นๆ ที่ยังบกพร่องให้พัฒนาเพิ่มขึ้นมาอีก
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (http://www.happyhomeclinic.coท/a01-multiple%20intelligence.htm) กล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์
ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ
ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา
เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา
ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน
ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical
Intelligence)
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
4.
ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)คื
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
7.
ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
(Intrapersonal Intelligence)
8.
ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist
Intelligence)
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยเน้นความสำคัญใน 3
เรื่องหลัก ดังนี้
1.
แต่ละคนควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด
เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย
เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3. ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย
เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน
ชัยวัฒน์
สุทธิรัตน์
(2552:33)
ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า Garner ได้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา
ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในการนำไปจัดการศึกษาในปัจจุบัน Garner มีความเชื่อพื้นฐานว่า
เชาว์ปัญญาของบุคคลไม่ได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่หลากหลายถึง 8 ประเภทหรืออาจจะมีมากกว่า นี้
ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่นและมีความสามารถในด้าน
ต่างๆไม่เท่ากันความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่ง
เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนและเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่ที่ระดับที่
ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
สรุป
“ทฤษฎีพหุปัญญา” ทฤษฎีพหุปัญญา
(Theory of Multiple Intelligences) ของการ์ดเนอร์
ซึ่งได้แบ่งเชาวน์ปัญญา หรือสติปัญญาของบุคคล ออกเป็น 8 ด้าน ดังนี้
อัจฉริยะภาพด้านภาษา
(Linguistic Intelligence) คือ
ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย
สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ
ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู
ทนายความหรือนักการเมือง
อัจฉริยะภาพด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์
(Logical-Mathematical Intelligence) คือ
ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์
และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี
นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
อัจฉริยะภาพด้านมิติสัมพันธ์
(Visual-Spatial Intelligence) คือ
ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง
และตาแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน
มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทยาศาสตร์
และสายศิลปะศาสตร์ ทางด้านสายวิทยาศาสตร์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร
ส่วนสายศิลปะศาสตร์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร นักวาดรูป
นักเขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
อัจฉริยะภาพด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว
(Bodily Kinesthetic Intelligence) คือ
ความสามารถในการควบคุม และแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง
ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ต์
หรือนักแสดงกายกรรม
อัจฉริยะภาพด้านดนตรี
(Musical Intelligence) คือ ความสามารถในการซึมซับ
และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจา และการแต่งเพลง
สามารถจดจาจังหวะ ทานอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง
เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
อัจฉริยะภาพด้านมนุษย์สัมพันธ์
(Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น
ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน
มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้าเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี
เป็นปัญญาด้านที่จาเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คาปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง
พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
อัจฉริยะภาพด้านการเข้าใจตนเอง
(Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก
ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ
และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง
เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน
หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง
หรือความสามารถในเรื่องใด มีความรู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความคาดหวัง
ความปรารถนา และตัวตนของตนเองอย่างแท้จริง
เป็นปัญญาด้านที่จาเป็นต้องมีอยู่ในทุกคนเช่นกัน
เพื่อให้สามารถดารงชีวิตอย่างมีคุณค่า และมีความสุข สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น
มักจะเป็นนักคิด นักปรัชญา หรือนักวิจัย
อัจฉริยะภาพด้านธรรมชาติวิทยา
(Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก
และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ
ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ
มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์
สาหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
หรือนักสำรวจธรรมชาติ
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.(2555).ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกรบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท เขตประทุมวัน กรุงเทพฯ 10330.
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97.
เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์:(http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555
ทฤษฎีพหุปัญญา.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์:http://www.babybestbuy.in.th/shop/theory_of_multiple_intelligences เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2555
ทฤษฎีพหุปัญญา.[ออนไลน์]ชื่อเว็บไซต์:
http://thesisavenue.blogspot.com/2008/09/theory-of-multiple-intelligences.html เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่
3 กรกฎาคม 2555
ทวีศักดิ์
สิริรัตน์เรขา.(ออนไลน์)ชื่อเว็บไซต์ : http://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple%20intelligence.htm. เข้าถึงเมื่อ 14/07/2555
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่นกรุงเทพฯ
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่นกรุงเทพฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น