http://gong.web.officelive.com/Constructionism.aspx
บรูนเนอร์เชื่อว่า
การเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ประมวลข้อมูลข่าวสารจากการที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสำรวจสิ่งแวดล้อม
บรูนเนอร์เชื่อว่าการรับรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่เลือกหรือสิ่งรับรู้ขึ้นกับความใส่ใจของผู้เรียนที่มีต่อสิ่งนั้น
ๆ การเรียนรู้จะเกิดจากการค้นพบ แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ คือ
1.
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
2.
ผู้เรียนแต่ละคนมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้แตกต่างกัน
3.
พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาจะเห็นได้ชัดโดยที่ผู้เรียนสามารถรับสิ่งเร้าที่ให้เลือกได้หลายอย่างพร้อม
ๆ กันวิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการค้นพบความรู้
ขั้นพัฒนาการที่บรูนเนอร์เสนอมี
3 ขั้น คือ
1.
วิธีการที่เรียกว่า เอนแอคทีป (Enactive Mode) ซึ่งเป็นวิธีที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
โดยการสัมผัสจับต้องด้วยมือผลักดึง
2.
วิธีการที่เรียกว่า ไอคอนนิค (Iconic Mode) เมื่อเด็กสามารถที่จะสร้างจินตนาการหรือมโนภาพ
(imagery) ขึ้นในใจได้
3.
วิธีการที่ใช้สัญลักษณ์ หรือ Symbolic Mode วิธีการนี้ผู้เรียนจะใช้ในการเรียนรู้
เมื่อผู้เรียนมีความสามารถที่จะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com กล่าวว่า
เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว
ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
เทิดชัย บัวผาย กล่าวไว้ว่าทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็น ทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความ
เข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ
สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว
ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความ รู้(process
of knowledge construction) เป้า หมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอน
ตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้ เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม
ตนเองในการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล
การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย
การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย
ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้
แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97 ได้กล่าวว่าทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็น
ทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความ
เข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ
สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว
ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ (process
of knowledge construction) เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่
แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้ เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม
ตนเองในการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล
การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย
การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา
ก็สามารถทำได้ แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
http://supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html
ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีไว้ว่า
การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างมากกว่ารับความรู้ ดังนั้นเป้ามหมายของการสอน
จะสนับสนุนกระบวนการสร้างมากกว่าการรับรู้
ดังนั้นเป้าหมายของการสอนจะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอดความรู้
จึงได้มุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล
และสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความหมายของความเป็นจริง
จากความเชื่อดังกล่าว
จึงส่งผลให้แนวทางจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Constructivismเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทในการสร้างความรู้มากกว่าเป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน
Piaget เสนอว่า
พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบ หรือดูดซึม(Assimilation)
และกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) พัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับและซึมซาบข้อมูล
หรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม
หากไม่สามารถสัมพันธ์กันได้ จะเกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น (Disequilibrium) บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในภาวะสมดุล (Equilibrium) โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation)
http://theory-tishafan.blogspot.com/p/constructivism.html
ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีไว้ว่า
พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม(assimilation)
และกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา (accommodation) พัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับและซึมซาบข้อมูลหรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางปัญยาที่มีอยู่เดิม
หากไม่สามารถสัมพันธืกันได้ จะเกิดภาวะไม่สมดุล (disequilibrium) บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในสภาวะสมดุล (equilibrium) โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา(accommodation) เพียเจต์เชื่อว่า คนทุกคนจะมีการพัฒนาเชาว์ปัญญาไปตามลำดับขั้น
จากการมีปฏิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์(logico-mathematical
experience) รวทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม(social
transmission) วุฒิภาวะ (maturity) และกระบวนการพัฒนาความสมดุล(equilibrium)
ของบุคคลนั้น ส่วนวีก็อทสกี้ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก
เขาอธิบายว่า มนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด
ซึ่งนอกจากสิ่งแวดล้อมจากธรรมชาติแล้วก็ยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคมซึ่งก็คือวัฒนธรรมที่แต่ละสังคมสร้างขึ้น
ดังนั้นสถาบันสังคมต่างๆ
เริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อพัฒนการทางเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคลล
นอกจากนั้น ภาษายังเป็นเครื่องมือสำคัญของกาคิดและการพัฒนาเชาว์ปัญญาขั้นสูง
พัฒนาการทางภาษาและทางความคิดของเด็กเริ่มด้วยการพัฒนาที่แยกจากกัน
แต่เมื่ออายุมากขึ้น พัฒนาการทั้ง 2 ด้านจะเป็นไปร่วมกัน
http://edclass.pn.psu.ac.th/edtech/the-news/56--constructivism-.html ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า
ทฤษฎี constructivism หรือทฤษฎีการเรียนรู้แบบใหม่ คือ
การสอนให้เด็กเรียนรู้เอง คิดเอง
เด็กและครูจะเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันทั้ง 2 ฝ่าย โดยที่ต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ตามทฤษฎีการเรียนรู้constructivism
ผู้เรียนจะมีความสัมพันธ์กับผู้สอนดีกว่าการเรียนรู้รูปแบบเดิม
เพราะมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างผู้เรียนและผู้ทำหน้าที่สอน
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htmได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process
of knowledge construction)
http://www.novabizz.com/NovaAce/Learning/Learning_Constructivism.htm
ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยา ปรัชญา และมนุษยวิทยา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจิตวิทยาด้านปัญญา เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึง
การได้มาซึ่งความรู้ และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร ซึ่งเพอร์กิน
ได้อธิบายว่า Constructivismคือ การ ที่ผู้เรียน
ไม่ได้รับเอาข้อมูล และเก็บข้อมูลความรู้นั้นมาเป็นของตนทันที แต่จะแปลความหมาย
ของข้อมูลความรู้เหล่านั้น โดย ประสบการณ์ของตน และเสริมขยาย
และทดสอบการแปลความหมายของตนด้วยประกอบด้วยกระบวนการ 2 อย่าง
คือ1.การซึมซาบหรือดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและซึมซาบหรือดูดซึมเอา
ประสบการณ์ใหม่ เข้าสู่ประสบการณ์เดิม ที่เหมือนหรือ คล้ายคลึงกัน
โดยสมองจะปรับเอาประสบการณ์ใหม่เข้ากับความคิด ความรู้ในโครงสร้างที่เกิดจาก
การเรียนรู้เดิมที่มีอยู่
2. การปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accomodation) เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องมาจากกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึม
คือ เมื่อได้ซึมซาบ หรือดูดซึม เอาประสบการณ์ใหม่ใหม่ เข้าไปในโครงสร้างเดิมแล้ว
ก็จะทำการปรับประสบการณ์ใหม่ ให้เข้ากับ ครงสร้างของความรู้เดิมที่มีอยู่ในสมองก่อนแล้ว
แต่ถ้าไม่เข้ากันได้ก็จะทำการสร้างโครงสร้างใหม่ขึ้นมาเพื่อรับประสบการณ์ ใหม่นั้น
ทิศนา แขมมณี (2554:90-95)ได้รวบรวมทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองไว้ดังนี้
Piaget
(1972:1-12) กล่าวไว้ว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาเชาว์ปัญญาไปตามลำดับขั้น
จากการมีปฎิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
และประสบการณ์เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์
รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม วุฒิภาวะ
และกระบวนการพัฒนาความสมดุลของบุคคลนั้น
Vygotsky
(1978:90-91) กล่าวไว้ว่า การให้ความช่วยเหลือชี้แนะแก่เด็ก
ซึ่งอยู่ในลักษณะของ assisted learning หรือ scaffolding
เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะสามารถช่วยพัฒนาเด็กให้ไปถึงระดับที่อยู่ในศักยภาพของเด็กได้
Devries
(1992:3-6) กล่าวไว้ว่า
การเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้และควบคุมการเรียนรู้ เปลี่ยนไปเป็นการให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวก และช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
คือการเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก instruction ไปเป็น construction
คือเปลี่ยนจากการให้ความรู้ ไปเป็น การให้ผู้เรียนสร้างความรู้
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวว่า
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว
ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
สุรางค์ โคว้ตระกูล กล่าวว่า
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process
of knowledge construction)
เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว
ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย
การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้
แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
http://edclass.pn.psu.ac.th/edtech/the-news/56--constructivism-.html ได้กล่าวว่า
แนวคิดเรื่องความรู้จากกระบวนการเรียนรู้
ไว้ดังนี้
1.) ความรู้ประกอบด้วยข้อมูลที่เรามีอยู่เดิม
และเมื่อเราเรียนรู้ต่อไปความรู้เดิมก็จะถูกปรับเปลี่ยนไป การปรับเปลี่ยนความรู้ต่างๆ
ถือว่าเป็นการรับความรู้เข้ามาและเกิดการปรับเปลี่ยนความรู้ขึ้น
เด็กจะมีการคิดที่ลึกซึ้งกว่าการท่องจำธรรมดา
เพียงแต่เขาจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ที่ได้มา
และสามารถที่จะสร้างความหมายใหม่ของความรู้ที่ได้รับมานั่นเอง
บางครั้งเราคิดว่าถ้าเรามีหลักสูตรที่ดีพอและเต็มไปด้วยข้อมูลที่สามารถให้
กับผู้เรียนได้มากที่สุดเท่าที่เราจะให้ได้แล้ว
ผู้เรียนก็จะสามารถเรียนรู้ได้เองและเติบโตไปเป็นผู้ที่มีการศึกษา แต่ทฤษฎี constructivism กล่าวว่าหลักสูตรอย่างนั้นไม่ได้ผล นอกจากว่าผู้เรียนได้เรียนแล้ว
สามารถคิดเองและสร้างมโนภาพความคิดด้วยตนเอง ทั้งนี้
เพราะการให้แต่ข้อมูลกับผู้เรียน ไม่ได้ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้
เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสมองของคนเรามีกระบวนการสร้างความ
สัมพันธ์กับสิ่งกระตุ้นแล้วนำมาทำความเข้าใจว่าเป็นอย่างไร
รวมทั้งจะต้องนำมาสร้างความรู้ ความรู้สึก และมโนภาพของเราเองด้วย
ดังนั้นถ้าพูดถึงระบบการศึกษาแบบที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ไม่ได้หมายความว่ามีอุปกรณ์การสอนแล้วเราละทิ้งให้ผู้เรียนเรียนไปคนเดียว
แต่การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง คือ
ผู้เรียนจะเป็นผู้ที่มีความสำคัญที่สุด
หมายความว่าผู้เรียนจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กันกับสิ่ง กระตุ้น
สิ่งกระตุ้นในที่นี้ หมายถึง ครู ผู้สอน หรือสิ่งแวดล้อมที่จะไปกระตุ้นผู้เรียน
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะช่วยชี้แนะแนวทางการคิดให้กับผู้เรียน นอกจากนี้การสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งกระตุ้นต่างๆ
จะทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างเป็นความรู้ขึ้นในสมอง
2.) ตัวกระตุ้นที่มีความสำคัญมากต่อการเกิดการเรียนรู้ตามทฤษฎี
Constructivism คือ
ความรู้เกิดจากความฉงนสนเทห์ทางเชาวน์ปัญญา วิธีการที่เราสามารถทำให้ผู้เรียนอยากจะเรียนรู้คือมีตัวกระตุ้นที่ทำให้ผู้
เรียนเกิดข้อสงสัยอยากรู้
และผู้เรียนต้องมีเป้าหมายและจุดประสงค์ที่อยากจะเรียนรู้ในเรื่องนั้นๆ
ทั้งนี้เพราะว่าเวลาคนเราเกิดความสงสัยเกี่ยวกับอะไร
ก็มักจะเกิดข้อคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ขึ้นมา ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวกระตุ้น
เป็นเป้าหมายที่จะทำให้ต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะตอบคำถามนั้นให้ ได้
ดังนั้นครูจึงต้องพยายามดึงจุดประสงค์ ความต้องการ
และเป้าหมายของผู้เรียนออกมาให้ได้ อาจจะโดยกำหนดหัวข้อหรือพูดคร่าวๆ
ว่าเราจะศึกษาหรือเรียนรู้อะไรบ้าง เช่น ในเรื่องเกี่ยวกับการเดินทางเข้าเมือง
ให้ผู้เรียนตั้งเป้าหมายว่าเขาต้องการที่จะเรียนรู้อะไร มีคำถามอะไรบ้าง
ซึ่งเป้าหมายจะเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียนและทำให้ผู้เรียนพยายาม
ที่จะไปสู่เป้าหมายนั้น และมีความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
3.) อีกกลุ่มหนึ่ง คือกลุ่มนักจิตวิทยา
ได้ให้ความคิดเห็นว่าความรู้มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคม
จากการที่เราได้ทบทวนและสะท้อนกลับไปของความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เราเข้าใจ
กระบวนการเรียนรู้โดยธรรมชาติ
เป็นการเรียนรู้ที่มีความสัมพันธ์กันเป็นสังคม กล่าวคือ ความรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคม
ความรู้มาจากการที่คนอื่นได้แสดงออกของความคิดที่แตกต่างกันออกไป
และกระตุ้นให้เราเกิดความสงสัย เกิดคำถามที่ทำให้เราอยากรู้เรื่องใหม่ๆ
ดังนั้นการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ต้องมีสังคม
ต้องดึงเอาความรู้เก่าออกมาและต้องให้ผู้เรียนคิดและแสดงออก
ซึ่งจะทำได้เฉพาะกับสังคมที่มีการสนทนากัน
แม้ว่าบางครั้งการสนทนาหรือการแสดงความคิดเห็นอาจจะไม่ตรงกันหรือมีความขัด แย้งกัน
แต่ความขัดแย้งจะทำให้เราเกิดการพัฒนาและได้ทางเลือกใหม่จากที่คนอื่นเสนอ
ฉะนั้นต้องทำให้ผู้เรียนได้แสดงออกมาว่ารู้อะไร และให้พูดคุยกันเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนรู้โดยที่ครูหรือผู้สอนเป็นผู้
ช่วยเหลือเขา
http://supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html ได้กล่าวว่าConstructivism
เป็นทฤษฎีที่พัฒนาจากนักจิตวิทยาและนักการศึกษาสองท่านคือ Jean
Piaget ชาวสวิสเซอร์แลนด์ และLev Vygotsky ชาวรัสเซีย
ทั้งสองท่านนี้เป็นนักทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธินิยม (Cognitivism) เป็นกลุ่มที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับ Cognition หรือกระบวนการรู้คิด
หรือกระบวนการทางปัญญา ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นConstructivism กลุ่มทฤษฎี Constructivism
เชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างมากกว่ารับความรู้
ดังนั้นเป้าหมายของการสอน จะสนับสนุนกระบวนการสร้างมากกว่าการรับรู้
ดังนั้นเป้าหมายของการสอนจะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอด ความรู้
จึงได้มุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล
และสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความหมายของความเป็นจริง จากความเชื่อดังกล่าว
จึงส่งผลให้แนวทางจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง Constructivism เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่า
เป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน Piaget เสนอว่า
พัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบ หรือดูดซึม(Assimilation)
และกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) พัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อบุคคลรับและซึมซาบข้อมูล
หรือประสบการณ์ใหม่เข้าไปสัมพันธ์กับความรู้หรือโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ เดิม
หากไม่สามารถสัมพันธ์กันได้ จะเกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น (Disequilibrium) บุคคลจะพยายามปรับสภาวะให้อยู่ในภาวะสมดุล (Equilibrium) โดยใช้กระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา (Accommodation) Piaget เชื่อว่าคนทุกคนจะมีการพัฒนาเชาวน์ปัญญาไปตามลำดับขั้น
จากการมีปฏิสัมพันธ์และมีประสบการณ์กับ สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
และประสบการณ์ที่เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ (Logico –
mathematical experience) รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม (Social
transmission) วุฒิภาวะ (Maturity) และกระบวนการพัฒนาความสมดุล
(Equilibration) ของบุคคลนั้น วีก็อทสกี้ (Vygotsky) ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก
เขาอธิบายว่ามนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด
ซึ่งนอกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้ว ยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคม
คือวัฒนธรรมที่สังคมสร้างขึ้น ดังนั้น สถาบันสังคมต่างๆ
เริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัวจะมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางเชาว์ปัญญาของแต่ละ บุคคล
นอกจากนั้นภาษายังเป็นเครื่องมือสำคัญของการคิดและพัฒนาเชาว์ปัญญาขั้นสูง
พัฒนาการทางภาษาและทางความคิดของเด็กเริ่มด้วยการพัฒนาที่แยกจากกัน
แต่เมื่ออายุมากขึ้น พัฒนาการทั้งสองด้านจะเป็นไปร่วมกัน
เติมศักดิ์ คถวณิช (2549 : 281-282) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์
มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean
Piaget ซึ่งเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย
Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า
เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น สำหรับด้านสังคมวิทยา Emile Durkheim
และคณะ เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่
ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว
Constructivism
จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (cognitive
psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ
Piagetประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism
คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม
โดยใช้กระบวนการทางปัญญา (cognitive apparatus) ของตน
ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี คือ
การเรียนรู้ตามแนว Constructivism
คือ โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความพยายามทางความคิด
ผู้เรียนสร้างเสริมความรู้ผ่านกระบวนการทางจิตวิทยาด้วยตนเอง
ผู้สอนไม่สามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของผู้เรียนได้
แต่ผู้สอนสามารถช่วยผู้เรียนปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาได้โดยจัดสภาพการณ์ที่ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลขึ้น
อัชรา เอิบสุขสิริ (2549 : 312-320) กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว
ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ (process
of knowledge construction) เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว
ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล
การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย
การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย
ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้
แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
http://202.143.156.4/edplaza/index.php?option=com_content&view=article&id=57:-constructionism&catid=29:2010-05-16-09-38-11&Itemid=53กล่าวไว้ว่าเป็นทฤษฎีทางการศึกษาที่พัฒนาขึ้นโดย
Professor
Seymour Papert แห่ง M.I.T. (Massachusette Institute of
Technology) ทฤษฎีคอนสตรัคชั่นนิสซึ่ม (Constructionism) หรือทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
ประสบการณ์ใหม่
/ ความรู้ใหม่ + ประสบการณ์เดิม / ความรู้เดิม = องค์ความรู้ใหม่
ซีมัวร์ พาร์เพิร์ท (Seymour Papert) ได้ให้ความเห็นว่า ทฤษฎีการศึกษาการเรียนรู้
ที่มีพื้นฐานอยู่บนกระบวนการการสร้าง 2 กระบวนการด้วยกัน
สิ่งแรก
คือ ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นด้วยตนเอง
ไม่ใช่รับแต่ข้อมูลที่หลั่งไหลเข้ามาในสมองของผู้เรียนเท่านั้น
โดยความรู้จะเกิดขึ้นจากการแปลความหมายของประสบการณ์ที่ได้รับสังเกตว่าในขณะที่เรา
สนใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่อย่างตั้งใจเราจะไม่ลดละความพยายาม
เราจะคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหานั้นจนได้
สิ่งที่สอง คือ
กระบวนการการเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
หากกระบวนการนั้นมีความหมายกับผู้เรียนคนนั้น
จากที่กล่าวมาสามารถสรุปให้เป็นหลักการต่างๆที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
ได้ดังนี้
1.หลักการที่ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
หลักการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism คือ
การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
โดยให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือได้ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีความหมาย
ซึ่งจะรวมถึงปฏิกิริยาระหว่างความรู้ในตัวของผู้เรียนเอง
ประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมภายนอก
การเรียนรู้จะได้ผลดีถ้าหากว่าผู้เรียนเข้าใจในตนเอง
มองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า(รู้ว่าตนเองได้เรียนรู้อะไรบ้าง)
และสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมา
และเมื่อพิจารณาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอนโดยปกติที่เกิดขึ้นในห้องเรียนนั้นสามารถจะแสดงได้
2.หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
โดยครูควรพยายามจัดบรรยากาศการเรียนการสอน
ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยมีทางเลือกในการเรียนรู้ที่หลากหลาย(Many
Choice) และเรียนรู้อย่างมีความสุขสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่าได้
ส่วนครูเป็นผู้ช่วยเหลือและคอยอำนวยความสะดวก
3.หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม
หลักการนี้เน้นให้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ร่วมกัน(Social value) ทำให้ผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญ
การสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการจัดประสบการณ์เพื่อเตรียมคนออกไปเผชิญโลก
ถ้าผู้เรียนเห็นว่าคนเป็นแหล่งความรู้สำคัญและสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กันได้
เมื่อเขาจบออกไปก็จะปรับตัวได้ง่ายและทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
4.หลักการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือการรู้จักแสวงหาคำตอบจากแหล่งความรู้ต่างๆด้วยตนเองเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมที่ฝังแน่นเมื่อผู้เรียน
"เรียนรู้ว่าจะเรียนรู้ได้อย่างไร (Learn how to Learn)"
บทบาทและคุณสมบัติที่ครูควรมีใน
การสอนแบบ Constructionism
ในการสอนตามทฤษฎี Constructionism ครูเองนับว่ามีบทบาทสำคัญมากในการที่จะควบคุมกระบวนการให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
ซึ่งครูที่ศึกษาทฤษฎีนี้ควรมีความเข้าใจในบทบาท คุณสมบัติที่ครูควรจะมี
รวมทั้งทัศนคติที่ครูควรเปลี่ยนและสิ่งที่ต้องคำนึงถึง
บทบาทของครู
• ในการดำเนินกิจกรรมการสอน
ครูควรรู้จักบทบาทของตนเองอย่างแจ่มแจ้ง
ครูนับว่าเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้การสอนสำเร็จผล ดังนั้นจึงควรรู้จักบทบาทของตน
ดังนี้ คือ
• จัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสม
โดยควบคุมกระบวนการการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้และคอยอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น
• แสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนตามโอกาสที่เหมาะสม(ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนและบรรยากาศการเรียนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา)
• เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎี
Constructionismโดยเน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
เป็นผู้จุดประกายความคิดและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนโดยทั่วถึงกัน
ตลอดจนรับฟังและสนับสนุนส่งเสริมให้กำลังใจแก่ผู้เรียนที่จะเรียนรู้เพื่อประจักษ์แก่ใจด้วยตนเอง
• ช่วยเชื่อมโยงความคิดเห็นของผู้เรียนและสรุปผลการเรียนรู้
ตลอดจนส่งเสริมและนำทางให้ผู้เรียนได้รู้วิธีวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้
เพื่อผู้เรียนจะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
คุณสมบัติที่ครูควรมีในการสอนแบบ
Constructionism
• มีความเข้าใจทฤษฎี Constructionism
และพร้อมที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎี Constructionism
• มีความรู้ในเนื้อหาที่สอนอย่างดี
• มีความเข้าใจมนุษย์
มีจิตละเอียดพอที่จะสามารถตรวจสอบความคิดของผู้เรียนและดึงความคิดของผู้เรียนให้แสดงออกมามากที่สุด
• มีการพัฒนาตนเอง
ทางร่างกาย สติปัญญาและจิตใจอยู่เสมอ ครูควรรู้จักตนเองและพัฒนาความรู้ บุคลิกภาพ
ของตนให้ดีขึ้น มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน
ไม่ถือว่าความคิดตนถูกต้องเสมอ เข้าใจและยอมรับว่าบุคคลมีความแตกต่างกัน
ไม่ด่วนตัดสินผู้เรียนอย่างผิวเผิน
• ควรมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้เรียน
เพราะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของครูจะทำให้บรรยากาศในการเรียนการสอนเกิดความเป็นกันเองและมีความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน
• ครูควรมีทักษะในการสื่อความหมายกับผู้เรียน
ในการสอนนั้นครูมักจะมีการสื่อความหมายกับผู้เรียนเสมอ
จึงควรสื่อความหมายให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ รู้จักใช้วาทศิลป์ให้เหมาะกับกาลเทศะ
และเหมาะสมกับผู้เรียนแต่ละคน(การสื่อความหมายให้กับผู้เรียนแต่ละคนจะไม่เหมือนกันเพราะผู้เรียนมีการรับรู้และเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน)
• มีทักษะในการใช้วิจารณญาณตัดสินใจและแก้ไขปัญหา
ทักษะด้านนี้ทำให้ครูดำเนินงานได้สะดวกราบรื่น เนื่องจากการสอนแบบ Constructionism
นั้นผู้สอนจะต้องคอยสังเกตบรรยากาศการเรียนที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
และจะต้องคอยแก้ไขปัญหาในแต่ละช่วงให้เหมาะสม
ดังนั้นผู้สอนจึงต้องมีทักษะในการใช้วิจารณญาณตัดสินใจและแก้ไขปัญหาที่ดี
• มีทักษะในการช่วยเหลือผู้เรียน
บ่อยครั้ง
ครูต้องคอยช่วยแก้ปัญหาให้ผู้เรียนครูจึงควรมีความเป็นมิตรเป็นกันเองกับนักเรียนเสมอ
หากครูไม่มีทักษะทางด้านนี้แล้ว การช่วยเหลืออาจไม่บรรลุผล
• จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นคุณสมบัติที่ครูควรมีเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงมนุษยสัมพันธ์ในการเรียนการสอนและการดำเนินชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น
นอกจากนั้นสิ่งที่สำคัญมากก็คือครูควรมีพื้นฐานของความรักในวิชาชีพครู
พยายามเข้าใจผู้เรียนแต่ละคนให้มากๆโดยยึดหลักที่ว่าคนเรามีความแตกต่างกัน(ไม่นำคนหนึ่งมาเปรียบเทียบกับอีกคนหนึ่ง)
ครูควรรู้จักเคารพความคิดของตนเองและผู้อื่น(โดยเฉพาะผู้เรียน)
และควรรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจของครูเองให้สมบูรณ์ และแจ่มใสอยู่เสมอ
ทัศนคติที่ครูควรเปลี่ยนและสิ่งที่ต้องคำนึงถึง
• ในการเรียนการสอนตามทฤษฎี
Constructionism ครูควรเปลี่ยนแปลงทัศนคติให้เหมาะสม
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น
ทัศนคติที่ครูควรเปลี่ยนแปลงไปและสิ่งที่ครูควรคำนึงถึงมีดังนี้
• ครูต้องไม่ถือว่า
ครูเป็นผู้รู้แต่ผู้เดียว ผู้เรียนต้องเชื่อตามที่ครูบอกโดยไม่มีเงื่อนไข
แต่ครูต้องตระหนักว่าตนเองมีความรู้ที่จะช่วยเหลือนักเรียนเท่าที่จะช่วยได้
ดังนั้นครูจึงไม่อับอายผู้เรียนที่จะพูดว่า “ครูก็ยังไม่ทราบ
พวกเรามาช่วยกันหาคำตอบดูซิ”ฯลฯ
• ครูต้องพยายามช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุดเท่าที่จะมากได้
ต้องอดทนและปล่อยให้นักเรียนประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง อย่าด่วนไปชิงบอกคำตอบเสียก่อน
ควรช่วยเหลือแนะนำผู้เรียนที่เรียนช้าและเรียนเร็วให้สามารถเรียนไปตามความสามารถของตนเองด้วยตนเองให้มากที่สุด
• ไม่ควรถือว่า “ผู้เรียนที่ดีต้องเงียบ” แต่ครูควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พูดคุยกันในเนื้อหา
หรือได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความรู้กันได้
• ครูต้องไม่ถือว่าการที่ผู้เรียนเดินไปเดินมาเพื่อประกอบกิจกรรมการเรียนรู้
นั้นเป็นการแสดงถึงความไม่มีระเบียบวินัย แต่ต้องคิดว่าการเดินไปเดินมาเป็นกระบวนการหนึ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
และช่วยทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายต่อการเรียน
• ครูต้องลดบทบาทตัวเองลง
(ทำตัวให้เล็กที่สุด) พูดในสิ่งที่จำเป็น
เลือกสรรคำพูดให้แน่ใจว่าผู้เรียนมีความต้องการฟังในสิ่งที่ครูพูด ก่อนที่จะพูดครูจึงควรเร้าความสนใจของผู้เรียนเสียก่อน
• ขณะที่ผู้เรียนประกอบกิจกรรมครูต้องอยู่ดูแลเอาใจใส่พัฒนาการของผู้เรียนแต่ละคน
ต้องไม่คิดว่า เมื่อผู้เรียนสามารถเรียนได้เองแล้วครูก็เอาเวลาทำอย่างอื่นได้
• ครูควรมีใจกว้างและชมเชยนักเรียนที่ทำดีหรือประสบความสำเร็จแม้เพียงเล็กน้อย
ไม่ตำหนิหรือลงโทษเมื่อผู้เรียนทำผิดพลาด หรือทำไม่ถูกใจครู
• ครูไม่ควรจะเอาตนเองไปยึดติดกับหลักสูตรมากจนเกินไป
ไม่ควรจะยัดเยียดเนื้อหาที่ไม่จำเป็นให้กับผู้เรียน
ควรคิดว่าการให้เนื้อหาที่จำเป็นแม้จะน้อยอย่างก็ยังดีกว่าสอนหลายๆอย่าง แต่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้น้อยมาก(รู้แบบงูๆปลาๆ)
หรือนำความรู้ที่เรียนไปประยุกต์ใช้ไม่ได้
• การจัดตารางสอนควรจัดให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับเวลาที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรม
ครูต้องพยายามเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติกิจกรรมภายในเวลาที่เหมาะสม
ไม่มากหรือน้อยไป
บทบาทของผู้เรียน
ในการเรียนตามทฤษฎี Constructionism ผู้เรียนจะมีบทบาทเป็นผู้ปฎิบัติและสร้างความรู้ไปพร้อมๆกันด้วยตัวของเขาเอง(ทำไปและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน)
บทบาทที่คาดหวังจากผู้เรียน คือ
• มีความยินดีร่วมกิจกรรมทุกครั้งด้วยความสมัครใจ
• เรียนรู้ได้เอง
รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ด้วยตนเอง
• ตัดสินปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล
• มีความรู้สึกและความคิดเป็นของตนเอง
• วิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นได้
• ให้ความช่วยเหลือกันและกัน
รู้จักรับผิดชอบงานที่ตนเองทำอยู่และที่ได้รับมอบหมาย
• นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้นั้น
Self-Learning เป็นการเรียนรู้ที่เราเรียนในสิ่งที่เราสนใจให้ได้ผลตามความพึงพอใจ
โดย ไม่จำกัดเพศ อายุ หรือฐานะ เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีการจัดการด้วยตัวเอง เกือบทุกขั้นตอน Self-Learning จึงมีอิสระเรื่องเวลาทำให้มีจุดอ่อน
คือจะมีการยืดหยุ่นให้ตนเองไปเรื่อยๆ
การเรียนรู้ด้วยวิธีนี้จึงต้องมีวินัยในการควบคุมการบริหารจัดการด้วยตัวเอง
มีความตั้งใจจริงและมุ่งมั่น ยังมีข้อจำกัดอีกอย่างหนึ่งของ Self –
Learning ก็คือ ผู้เรียนต้องเรียนรู้ตามลำพัง ทำให้ไม่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
กับคนอื่น ๆ จึงมีประสบการณ์น้อยกว่าการเรียนในระบบ
รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1.
การทำสมุดบันทึกส่วนตัว เพื่อใช้บันทึกข้อมูล
ความคิดเรื่องราวต่างๆ ที่เราได้เรียนรู้หรือเกิดขึ้นในสมองของเรา สมุดนี้
จะช่วยเก็บสะสมความคิดทีละน้อยเข้าไว้ด้วยกันเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเพิ่มเติมให้กว้างไกลออกไป
2. การกำหนดโครงการเรียนรู้รายบุคคล ที่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะเรียนรู้อย่างไร
โดยพิจารณาว่าาความรู้ที่เราจะปสวงหานั้นช่วยให้เราถึงจุดประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
ทำให้เกิดความพึงพอใจ ความสนุกสนานที่จะเรียนหรือไม่
ประหยัดเงินและเวลามากน้อยเพียงใด
3.
การทำสัญญาการเรียน เป็นข้อตกลงระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยอยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้เรียนที่สอดคล้องกับเป้าหมายและหลักการของสถาบันการศึกษา
โดยกำหนดกิจกรรมการเรียนที่เหมาะสสม
4. การสร้างห้องสมุดของตนเอง หมายถึงการรวบรวมรายชื่อ ข้อมูล
แหล่งความรู้ต่างๆ ที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ตรงกับความสนใจเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป
5.
การหาแหล่งความรู้ในชุมชน เช่นผู้รู้ ผู้ชำนาญในอาชีพต่างๆ
ห้องสมุด สมาคม สถานที่ราชการ ฯลฯ
ซึ่งแหล่งความรู้เหล่านี้จะเป็นแหล่งสำคัญในการค้นคว้า
6.
การหาเพื่อนร่วมเรียน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กัน
7. การเรียนรู้จากการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์
http://corino.multiply.com/journal/item/1 ได้กล่าวไว้ว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ
เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว
ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process
of knowledge construction) เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว
ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล
การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย
ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้
แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
http://dontong52.blogspot.com ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า
นักจิตวิทยาชาวรัสเซียทฤษฎีเชาว์ปัญญาของวีก็อทสกี้เน้นความสำคัญของวัฒนธรรม สังคม
ละการเรียนรู้ที่มีต่อพัฒนาการเชาว์ปัญญา
วีก็อทสกี้แบ่งระดับเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 ขั้น
คือ
1) เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น
คือ เชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
2) เชาว์ปัญญาขั้นสูง
คือ เชาว์ปัญญาที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรมเลี้ยงดู
ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ โดยใช้ภาษา วีก็อทสกี้ได้แบ่งพัฒนาการทางภาษา เป็น 3 ขั้น คือ
- ภาษาที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
เรียกว่า ภาษาสังคม
- ภาษาที่พูดกับตนเอง (3-7 ขวบ)
- ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน
7 ขวบขึ้นไป
http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7
ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็น
ทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความ
เข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ
สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว
ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process
of knowledge construction) เป้า
หมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอน ตายตัว
ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้ เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม
ตนเองในการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล
การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทด้วย
ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถ
http://www.neric-club.com/data.php?page=4&menu_id=97 ได้รวบรวมและกล่าวถึง ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
ไว้ว่า เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความ
เข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ
สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว
ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ (process
of knowledge construction) เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่
แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้ เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุม
ตนเองในการเรียนรู้ บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้
การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล
การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย
การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย
ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้
แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321/ ได้รวบรวมและกล่าวถึง ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)
ไว้ว่า
เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล
นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process
of knowledge construction)
เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว
ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง
ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น
ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ
อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย
การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา ก็สามารถทำได้
แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย
http://yingjiraporn.blogspot.com/2010/06/constructivism-learning-theory.html. ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการแปลความหมายและสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ต่างๆ
และถือว่าสมองเป็นเครื่องมือสำคัญที่บุคคลใช้ในการแปลความหมายของปรากฏการณ์ต่างๆในโลกนี้ซึ่งการแปลความหมายของแต่ละคนจะขึ้นกับการรับรู้
ประสบการณ์ ความเชื่อความต้องการ ความสนใจ และภูมิหลังของแต่ละบุคคลซึ่งมีความแตกต่างกันดังนั้นการสร้างความหมายของข้อมูลความรู้และประสบการณ์ต่างๆขึงเป็นเรื่องเฉพาะตนที่บุคคลจะต้องใช้กระบวนการทางสติปัญญาในการจัดกระทำ
(Acting
on) มิใช่เพียงการรับ (Taking in) ข้อมูลเท่านั้น
สรุป
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์
รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย
การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้างมากกว่ารับความรู้ ดังนั้นเป้าหมายของการสอน
จะสนับสนุนกระบวนการสร้างมากกว่าการรับรู้
ดังนั้นเป้าหมายของการสอนจะสนับสนุนการสร้างมากกว่าความพยายามในการถ่ายทอด ความรู้
จึงได้มุ่งเน้นการสร้างความรู้ใหม่อย่างเหมาะสมของแต่ละบุคคล
และสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญในการสร้างความหมายของความเป็นจริง จากความเชื่อดังกล่าว จึงส่งผลให้แนวทางจัดการเรียนการสอนตามแนวทาง
Constructivism
เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนลงมือกระทำในการสร้างความรู้มากกว่า
เป็นผู้รับการถ่ายทอดความรู้จากครูผู้สอน
เอกสารอ้างอิง
http://gong.web.officelive.com/Constructionism.aspx เข้าถึงเข้าถึงเมื่อ 2กรกฎาคม 2555
http://images.ranunanetc3.multiply.multiplycontent.com
เข้าถึงเมื่อ 21/07/2555
เทอดชัย
บัวผาย(http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id)
http://www.neric-club.com/data.php?page=5&menu_id=97เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2555
http://supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html.เข้าถึงเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2555
http://theory-tishafan.blogspot.com/p/constructivism.html.เข้าถึงเมื่อวันที่ 9กรกฎาคม2555
http://edclass.pn.psu.ac.th/edtech/the-news/56--constructivism-.html. เข้าถึง9กรกฎาคม พ.ศ. 2555
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm เข้าถึงเมื่อวันที่ 20/07/2555
ทิศนา
แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้
เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุรางค์
โคว้ตระกูล. จิตวิทยาการศึกษา, กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
การศึกษาการเรียนการสอนโดย
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการเรียนรู้http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486
http://edclass.pn.psu.ac.th/edtech/the-news/56--constructivism-.html
. เข้าถึงเมื่อ 23/07/12
http://supanida-opal.blogspot.com/2009/02/constructivismconstructionism.html . เข้าถึงเมื่อ 23/07/12
เติมศักดิ์ คถวณิช.
เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู . มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร
อัชรา เอิบสุขสิริ.
เอกสารประกอบการเรียนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู . มหาวิทยาลัย ราชภัฏพระนคร
http://202.143.156.4/edplaza/index.php?option=com_content&view=article&id=57:-constructionism&catid=29:2010-05-16-09-38-11&Itemid=53เข้าถึงเมื่อ 24/07/12
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b5127046/link18-4.htmlเข้าถึงเมื่อ 24/07/12
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=294321/
เข้าถึงเมื่อ 15/07/12
http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7เข้าถึงเมื่อ 27 มิถุนายน 2555
http://www.neric-club.com/
data.php?page=5&menu_id=97 เข้าถึงเมื่อวันที่ 16/07/2012
http://www.oknation.net
/blog/print.php?id=294321/ เข้าถึงเมื่อวันที่ 16/07/2012
http://yingjiraporn.blogspot.com/2010/06/constructivism-learning-theory.html.
เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่10 กรกฎาคม 2555.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น