วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

นวัตกรรมทางการศึกษา

กิดานันท์  มลิทอง (2540:246)  ได้กล่าวไว้ว่า  นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมาย ถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น  

            ทิศนา แขมมณี (2526 : 12)  ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษาหมายถึง กระบวนการ แนวคิด หรือวิธีการใหม่ ๆ ทางการศึกษาซึ่งอยู่ในระหว่างการ ทดลองที่จะจัดขึ้นมาอย่างมีระบบและกว้างขวางพอสมควร เพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การยอมรับนำไปใช้ในระบบการศึกษาอย่างกว้างขวางต่อไป

            ลัดดา ศุขปรีดี (2523 : 19)  ได้ให้ความหมายไว้ว่าหมายถึง ความคิด วิธีการใหม่ ๆ ทางการเรียนการสอน ซึ่งรวมไปถึงแนวคิด วิธีปฏิบัติที่เก่ามาจากที่อื่น และมี ความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนในปัจจุบัน

สำลี ทองธิว (2526 : 3)  ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษาเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา หรือเพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลง สิ่งที่มีอยู่เดิมให้ได้ มาตรฐานคุณภาพเพิ่มขึ้น ผู้สร้างนวัตกรรมจะคำนึงถึงว่า นวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาจะต้องดีกว่าของเดิมคือ จะต้องได้รับประโยชน์มากกว่าเดิม หรือมีความะดวกมากขึ้น ไม่ยากต่อการใช้ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้

            บุญเกื้อ ควรหาเวช (2521 : 1)  ให้ความหมายไว้ว่า นวัตกรรมทางการ ศึกษาคือความคิดและการระทำใหม่ ๆ ในระบบการศึกษาที่ได้รับการพิสูจน์ว่าดีที่สุดใน สภาพปัจจุบันเพื่อส่งเสริมให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สมบูรณ์  สงวนญาติ (2534:14) ได้กล่าวไว้ว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษา ซึ่งแปลกไปจากเดิม โดยอาจได้มาจากการค้นพบวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยมีการทดลอง พัฒนา จนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฏิบัติ และสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

            าโรช โศภีรักษ์ (2546:27) กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การทำกิจกรรมใดๆก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเข้ามาใช้ปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือมุ่งจะให้งานมีประสิทธิภาพสูงก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆ เช่น วงการศึกษาได้นำเข้ามาใช้ เรียกว่า นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation )

ถวัลย์ มาศจรัส และ วรรณ นันบู่แว่น (2547:3) ได้ กล่าวไว้ว่านวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดใหม่ รูปแบบใหม่ วิธีการใหม่ เทคนิคใหม่แนวทางใหม่ ผลผลิตใหม่ ที่ได้ปรับประยุกต์ สร้างสรรค์และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิมหรือจากการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ ให้เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

ดร.เปรื่อง  กุมุท (2518 : ไม่ระบุ)  ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการศึกษาไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา แบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้นโดยเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้เป็นการเหมาะสมที่จะเอามาใช้กับการเรียนการสอนของเรา
2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้วแต่บังเอิญไม่เกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย พอมาถึงเวลานี้ระบบต่าง ๆ พร้อมจึงนำความคิดนั้นมาใช้ได้ นี่ก็เรียกว่านวัตกรรม
3. ความคิด หรือการกระทำใหม่นั้น เพราะมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาพร้อมกับความคิดที่จะทำอะไรบางอย่างอยู่พอดี และเห็นว่าใช้สิ่งเหล่านั้น หรือวิธีการนั้นสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษา นี่คือความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมทางการศึกษา 

             นายไพบูลย์ จำปาปั่น (http://hotoknow.org/)  ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ การนำความคิดใหม่ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ๆหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่แปลกจากเดิมหรือจากจะได้รับการ ปรับ ปรุงของเก่าให้ใหม่ และเหมาะสมหับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นตองเป็นระบบ จรเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพเรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนว ทาง ปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น

            มาตรฐานความรู้วิชาชีพครู 8 (http://teacher80std.blogspot.com/)  ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาดำเนินการหรือสนับสนุน ส่งผลให้การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสูงสุด

สหพรรณชนก ศรีสวัสดิ์ (http://forlearn.blogspot.com/2007/09/blog-post.html)  ได้กล่าวไว้ว่า ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาคือ  นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง แนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมนั้นมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานด้วย
            นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนการสอนได้อีกด้วย

http://www.northeducation.ac.th/etraining/courses/3/itedu/chap1/index01 2.php  ได้รวบรวมและกล่าวถึงนวัตกรรมการศึกษาว่า  นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น

http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927093/timn_49270937.pdf  ได้กล่าวว่านวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์
ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการเรียนการสอน  ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา มีดังนี้
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่า สิ่งใหม่ นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี

http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2922.0 ได้กล่าวว่านวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยน
แปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงไว้ว่า การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

http://school.obec.go.th/sup_br3/t_2.htm ได้กล่าวถึงนวัตกรรมการศึกษาไว้ดังนี้
นวัตกรรม เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งแต่เดิมใช้คำว่า นวกรรม เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation แปล ว่า การทำสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งใหม่ที่ทำขึ้นมา คำว่า นวกรรม มาจากคำบาลีสันสฤต คือ นว หมายถึง ใหม่ และกรรม หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ
นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ

http://www.learners.in.th/blog/22631/235365  กล่าวไว้ว่า คำว่า “นวัตกรรมการศึกษา” จะประกอบด้วย 2 คำคือ คำว่า “นวัตกรรม” และคำว่า “การศึกษา 
คำว่า “นวัตกรรม” ตาม ความหมายที่สรุปไว้แล้วนั้น หมายถึง การนำแนวคิดใหม่ วิธีการใหม่ หรือสิ่งใหม่มาใช้ทั้งหมดหรือการพัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม แนวคิดเดิม วิธีการเดิม หรือสิ่งเดิมเพื่อช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลดียิ่งขึ้นส่วนคำว่า “การศึกษา” ตามพระ ราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมายความว่ากระบวนการการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดย การถ่ายทอดความรู้  การฝึกการอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

           http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=11&group_id=50&article_id=907  ได้กล่าวว่า นวัตกรรมการศึกษา (Innovation in Education)  การศึกษาในปัจจุบันเป็นการศึกษาที่พัฒนาการตามยุค ITนวัตกรรมจึงถูกนำมาใช้กับการศึกษาที่เรียกว่า"นวัตกรรมการศึกษา"(Innovation Education) "นวัตกรรม" หมายถึง การทำอะไรใหม่ๆ แนวคิดใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆมาปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพของงานหรือของสิ่งที่ได้กระทำให้ดียิ่งขึ้น "นวัตกรรมการศึกษา" เป็นการนำแนวคิด วิธีการการกระทำที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อพัฒนา ปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพให้การศึกษา มีระบบที่ดีขึ้น มีคุณภาพ ที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ หรือประสิทธิผลสูงขึ้น

             web.yru.ac.th/~sittichai/innovation/word/ เนื้อหา.doc  กล่าวไว้ว่า  นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิมเกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ  สื่อหลายมิติ เป็นต้น

                สรุป
                นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง ความคิดและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพ  เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา  เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน

เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์  มลิทอง.(2540).นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา.กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
ถวัลย์ มาศวรัสและวรรณาภา มังบู่แว่น. (2547). นวัตกรรมการศึกษาชุดแผนการจัดกำกรรมการ
        ใช้หนังสือหรับปฐม อนุบาล. กรุงเทพมหานคร: ธารจัดหร.
บุญเกื้อ  ควรเวหา (2530).นวัตกรรมการศึกษา.SR Printing; กรุงเทพฯ
สมบูรณ์  สงวนญาติ (2534).เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: กรมศาสนา.
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง.(2545).สารัตถะจิตวิทยาการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
        สารคาม.
สาโรช โสภีรักษ์.(2546).นวัตกรรมการสอน ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ:บุ๊คพอยท์.
http://www.northeducation.ac.th/etraining/courses/3/itedu/chap1/index01_3.php  เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม 2555
http://gotoknow.org/ เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2555
http://teacher80std.blogspot.com/ เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2555  
http://forlearn.blogspot.com/2007/09/blog-post.html  เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927093/timn_49270937.pdf. เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2555
http://www.idis.ru.ac.th/report/index.php?topic=2922.0.เข้าถึงเมื่อ 27 สิงหาคม 2555
http://school.obec.go.th/sup_br3/t_2.htm. เข้าถึงเมื่อ  16 กรกฎาคม  2555.
http://www.learners.in.th/blog/22631/235365.  เข้าถึงเมื่อ 16  กรกฎาคม 2555.
เมื่อ  4 สิงหาคม 2555



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น